วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Mazda เปิดแผนพัฒนารถยนต์แห่งอนาคต โชว์ภาษาการออกแบบ KODO ล่าสุด


มาสด้าเปิดแผนพัฒนารถยนต์แห่งอนาคตสู่ความยิ่งใหญ่ โชว์นวัตกรรมการออกแบบใหม่ล่าสุด KODO ดีไซน์
กรุงเทพฯ – ประเทศไทย, 26 พฤศจิกายน 2555 – มาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น เผยนวัตกรรมการออกแบบยานยนต์มาสด้าแห่งอนาคตครั้งแรกในประเทศไทย ภายใต้แนวคิดการออกแบบ “โคโดะ ดีไซน์” จิตวิญญาณแห่งการเคลื่อนไหว (KODO – Soul of Motion) ถ่ายทอดเส้นสายการออกแบบล่าสุดผ่านยนตรกรรมรถต้นแบบคันแรก “มาสด้า ชินาริ (Mazda SHINARI)” โคโดะ ดีไซน์ ได้รับการยอมรับในระดับโลก และจะถ่ายทอดเอกลักษณ์เฉพาะตัวสู่รถเจเนอเรชั่นใหม่ๆ ที่กำลังจะเปิดตัวในอนาคต ที่สำคัญด้วยเทคโนโลยีอันล้ำสมัยอย่าง สกายแอคทีฟ (SKYACTIV) และโคโดะ ดีไซน์ จะช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้กับแบรนด์มาสด้าอย่างยั่งยืน และเพื่อบรรลุเป้าหมายการขายระยะกลางของภูมิภาคอาเซียน ที่ตั้งเป้าหมายไว้ที่ 150,000 คัน ในอีก 4 ปีข้างหน้า
ภายใต้แนวคิด “ซูม-ซูม” มาสด้าได้พยายามอย่างต่อเนื่องในการนำเทคโนโลยีอันล้ำสมัยล่าสุดมาใช้ในการผลิตรถยนต์ที่รูปลักษณ์สะกดทุกสายตา มีความสนุกเร้าใจในการขับขี่ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเต็มเปี่ยมไปด้วยความปลอดภัย ซึ่งมาสด้าได้ผลิตรถยนต์ที่มีความสปอร์ตและหรูหรามาแล้วอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น MX-5, RX-8, มาสด้า2 มาสด้า3 และบีที-50 โปร ซึ่งความเชี่ยวชาญในเรื่องความสปอร์ต สามารถสัมผัสได้จากดีไซน์ของมาสด้าที่โดนใจผู้ชื่นชอบการขับขี่จากทั่วโลก ซึ่งแนวคิดการออกแบบที่สำคัญของมาสด้า สามารถเห็นได้อย่างชัดเจนจากรถแต่ละรุ่นที่มีเอกลักษณ์ และความโดดเด่นเฉพาะตัวสำหรับตลาดโลก ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย
มร. มาซาฮิโระ โมโร เจ้าหน้าที่บริหารระดับสูง มาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น ผู้ที่รับผิดชอบดูแลการขายและการตลาดทั่วโลก กล่าวว่า มาสด้าประสบความสำเร็จอย่างดียิ่งสำหรับตลาดในประเทศไทย จากยอดจำหน่ายเมื่อปีที่ผ่านมาสูงถึง 42,000 คัน สามารถครองส่วนแบ่งการตลาดถึง 5.3% ซึ่งส่งผลให้มาสด้า ประเทศไทย ก้าวขึ้นสู่อันดับที่ 6 ของประเทศที่มาสด้ากำลังทำตลาดอยู่ ที่สำคัญในปีนี้เราตั้งเป้ายอดขายไว้ที่ 70,000 คัน และเชื่อว่ายอดขายจริงน่าจะสูงมากกว่านี้ ซึ่งจะทำให้มาสด้า ประเทศไทยก้าวใกล้ไปสู่ลำดับที่สูงขึ้น
เพื่อต่อยอดความแข็งแกร่งให้ธุรกิจของประเทศไทยนี้ มาสด้าพร้อมเสริมกำลังเต็มที่เพื่อการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะการจัดงาน “MAZDA DESIGN FORUM” ในวันนี้ คือจุดเริ่มต้นของการสร้างมิติใหม่ของมาสด้า ประเทศไทย เพราะนี่เป็นครั้งแรกที่บริษัทผู้ผลิตและพัฒนารถยนต์ได้เปิดเผยข้อมูลเบื้องหลังของการออกแบบและการพัฒนารถยนต์ ซึ่งไม่เคยถูกเปิดเผยที่ไหนมาก่อน ซึ่งจะช่วยจุดประกายให้บุคลากรในอุตสาหกรรมรถยนต์ได้เข้าใจมากยิ่งขึ้นเกี่ยวกับปรัชญาในการออกแบบ มร. โมโร กล่าวเพิ่มเติม
นอกจากนี้ มาสด้าได้กำหนดแผนพัฒนาธุรกิจระยะกลาง สำหรับตลาดประเทศไทย รวมทั้งอาเซียน ซึ่งการถือกำเนิดขึ้นของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC) จะยิ่งมีส่วนช่วยทำให้ระบบเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้เกิดความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น โดยมาสด้ามีเป้าหมายสูงสุด คือ การเติบโตทางด้านยอดขายในภูมิภาคอาเซียน โดยเราตั้งเป้าหมายอยู่ที่ 150,000 คัน ภายในปี 2559 และแน่นอนตลาดหลักที่สำคัญคือประเทศไทย และสิ่งที่จะทำให้มาสด้าประสบความสำเร็จได้นั่นคือ การออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องในช่วงระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อสร้างความหลากหลายให้กับจำนวนรุ่นรถยนต์ที่จำหน่ายในตลาด โดยจะปรับเปลี่ยนให้เข้ากับความต้องการและความชอบของลูกค้าให้มากที่สุด มร. โมโร กล่าวเสริม
มร. โมโร กล่าวเสริมว่า “มาสด้ามีแนวทางและจุดยืนที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวอย่างชัดเจน เราจะไม่ลงไปในสนามที่คนอื่นกำลังเล่นกัน แต่เราจะสร้างความแตกต่างที่โดดเด่นอย่างชัดเจน จากผลิตภัณฑ์ที่เป็นจุดแข็งของเรา โดยเฉพาะวันนี้ เราจะได้สัมผัสกับนวัตกรรมการออกแบบแห่งอนาคตของมาสด้า กับยนตรกรรมต้นแบบ MAZDA SHINARI ที่เป็นหัวใจของการดีไซน์รูปแบบใหม่ โคโดะ – จิตวิญญาณแห่งการเคลื่อนไหว ด้วยการคัดสรรวัสดุอย่างพิถีพิถัน เพื่อให้มาสด้ามีความแตกต่าง ซึ่งถูกถ่ายทอดไปยังรถยนต์ Mazda CX-5 และประสบความสำเร็จเป็นอย่างดียิ่งในตลาดโลก ที่สำคัญกำลังจะเปิดตัวในประเทศไทยในช่วงครึ่งปีหลังของปีหน้า”
มร. อิคูโอะ มาเอดะ หัวหน้าทีมออกแบบ กล่าวว่า ปรัชญาการออกแบบรถยนต์ในอนาคตของมาสด้า จะเป็นการสะท้อนถึงพลังและความงดงาม ดังที่มนุษย์ได้เห็นจากการเคลื่อนไหวของสัตว์หรือมนุษย์ อันเป็นรูปแบบของฟอร์มที่ซ่อนอยู่ในสรีระทุกครั้งที่มีการเคลื่อนไหว อย่างเช่น ช่วงขณะที่เสือชีตาห์กระโจนเข้าตะครุบเหยื่อ หรือนักดาบ “เคนโด้” ศิลปะการต่อสู้ดั้งเดิมของชาวญี่ปุ่น ในช่วงจังหวะที่ดาบถูกฟาดลงมา ช่วงเวลานั้นคือพลังอันมหาศาลจะถูกปลดปล่อยออกมาภายใต้ท่วงท่าที่แข็งแกร่งและมั่นคง เป็นความสมดุลระหว่างพละกำลังกับความงดงามอย่างเป็นธรรมชาติ คือความรู้สึกฉับพลันที่มุ่งมั่นและแน่วแน่ ให้ผู้ที่ได้พบเห็นต่างสัมผัสได้ถึง พลัง รู้สึกได้ถึงความเร็ว และประทับใจกับท่วงท่าอันงดงาม ทั้งหมดที่ผมเอ่ยถึงนี้ล้วนเป็นธรรมชาติที่น่าหลงใหล มาสด้าจึงได้จับเอาความน่าหลงใหลเหล่านี้มาใส่เป็นพลังขับเคลื่อนและเพิ่มอารมณ์ความรู้สึกเข้าไป จนเกิดเป็นรูปฟอร์มแห่งการเคลื่อนไหว ภายใต้ชื่อ “โคโดะ – จิตวิญญาณแห่งการเคลื่อนไหว” (KODO – Soul of Motion) ที่สำคัญการออกแบบ “โคโดะ” ได้ถูกกำหนดเป็นแนวทางการออกแบบใหม่ทั้งหมดของมาสด้านับจากนี้ไปและในอนาคต เพื่อแสดงออกถึงการเคลื่อนอันทรงพลัง รวดเร็ว และปราดเปรียว ให้เห็นถึงชีวิตหรือจิตวิญญาณที่ซ่อนอยู่ ซึ่งธีมการออกแบบ “โคโดะ” (KODO) คือ ภาษาการออกแบบของมาสด้า ความเคลื่อนไหวอันทรงพลัง
การออกแบบ “โคโดะ” คือ องค์ประกอบของ ความเร็ว พละกำลัง และเสน่ห์
ความเร็ว (SPEED): การขึ้นรูปของรถที่บอกได้ถึงความเร็ว สัญชาตญาณดิบที่จะควบมันไปข้างหน้าถูกกระตุ้นขึ้นเพียงแค่ได้เห็น เครื่องจักรที่บ่งบอกถึงความเร็วและพลัง
พละกำลัง (TENSE): การขึ้นรูปของรถที่บ่งบอกถึงความรู้สึกของกำลังที่อัดแน่นในจังหวะที่กำลังจะเคลื่อนที่เข้าหาเป้าหมาย เป็นการขึ้นรูปที่ปราณีตหมดจด ไม่วอกแวก ให้เห็นถึงสปิริตของชาวญี่ปุ่นที่เรียบง่าย
เสน่ห์ (ALLURED): คุณภาพที่สัมผัสได้ถึงความลุ่มลึกและความหรูหราเหนือระดับ ส่งผ่านความประณีตของฝีมือมนุษย์ที่ชวนให้สัมผัส
เราได้ผสานคุณค่าทั้งสามนี้เอาไว้ใน “โคโดะ – จิตวิญญาณแห่งการเคลื่อนไหว” (KODO – Soul of Motion)
นายโชอิชิ ยูกิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท มาสด้า เซลส์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า การวางยุทธศาสตร์ที่สำคัญเพื่อเป็นพลังขับเคลื่อน และช่วยส่งเสริมสร้างภาพลักษณ์ ความแข็งแกร่งให้กับแบรนด์มาสด้าในประเทศไทย จะช่วยให้รถยนต์มาสด้าสามารถครองใจลูกค้าได้อย่างยั่งยืน ด้วยการวางตำแหน่งของสินค้าที่แตกต่างและมีความชัดเจน เสริมด้วยกิจกรรมด้านการตลาดสไตล์ ซูม-ซูม เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าคนรุ่นใหม่ที่มีสไตล์การใช้ชีวิตเป็นตัวของตัวเอง ผมเชื่อมั่นว่าเราประสบความสำเร็จในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับแบรนด์มาสด้าได้บรรลุตามแผนที่วางไว้แล้ว และนับจากนี้เรายังคงมุ่งมั่นทุ่มเทสร้างรากฐานให้แบรนด์มีความมั่นคงยิ่งขึ้นต่อไป
“ความท้าทายที่รออยู่เบื้องหน้านี้ไม่ใช่เรื่องง่าย ที่มาสด้าจะสามารถก้าวข้ามอุปสรรคต่างๆ ที่มีอยู่มากมายในระหว่างทาง ด้วยแรงกาย แรงใจ ความรักและหลงใหลในความเป็นมาสด้าของเราทุกคน ผมหวังว่า นวัตกรรมการออกแบบรวมถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ท่านได้รับชมได้รับฟังในวันนี้ จะยังประโยชน์อย่างเต็มที่ต่อการพัฒนาและยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างยิ่งใหญ่และแข็งแกร่ง เสริมสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทยให้เจริญก้าวหน้าต่อไปอย่างไม่หยุดนิ่ง” ยูกิ กล่าวเสริม
Mazda Design Forum 2012
1-บทนำ
52 ปีแห่งความหลงใหลในการออกแบบยนตรกรรม
เมื่อครั้งที่มาสด้าเปิดตัวรถยนต์นั่งเป็นครั้งแรกกับรถมาสด้า R360 Coupe ในปี พ.ศ. 2503 เป็นรถที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายกับการออกแบบรถที่ดูเรียบง่ายลงตัวกับการใช้งาน สำหรับมาสด้าถือว่าเป็นการเปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของบริษัทฯในฐานะผู้ผลิตรถยนต์นั่ง และสำหรับผู้บริโภคชาวญี่ปุ่น รถมาสด้า R360 Coupe คือรถในฝันของพวกเขาในราคาที่สามารถเป็นเจ้าของได้
ในครั้งนั้นมาสด้าได้ริเริ่มการออกแบบยนตรกรรมด้วยความมุ่งมั่นที่จะสร้างความแตกต่างด้วยภาพลักษณ์และบุคลิกภาพที่เป็นเอกลักษณ์ สำหรับรถมาสด้า เป้าหมายในการออกแบบคือการสร้างความแตกต่างที่เหนือกว่าการออกแบบรถทั่วๆ ไปในอุตสาหกรรมที่มุ่งเน้นเพียงแต่การใช้งาน มาสด้ามีความมุ่งมั่นที่จะสร้างนิยามการออกแบบด้วยความรู้สึกถึงความตื่นเต้นเร้าใจ และตอบสนองทุกๆ ความคาดหวังของลูกค้าที่จะได้สัมผัสกับประสบการณ์การขับขี่รถยนต์มาสด้า ภายใต้แนวทางการออกแบบดังกล่าว ผนวกกับข้อเท็จจริง ที่ว่า นักออกแบบมาสด้าทุกๆ คนมีความหลงใหลในการออกแบบยนตรกรรมอย่างแท้จริง พวกเขามุ่งมั่นทุ่มเท ทุกๆ ลมหายใจเพื่อสร้างงานดีไซน์ที่บ่งบอกถึงอารมณ์และการสร้างงานศิลปะที่สวยงามสะท้อนถึงบุคลิกภาพของงาน เป้าหมายของการออกแบบคือการสร้างงานดีไซน์ที่สามารถสื่อสารถึงมุมมองและวิสัยทัศน์ของแนวทางการออกแบบรถยนต์มาสด้า ไปสู่ผู้บริโภคทั่วโลก และถือเป็นปรัชญาของการออกแบบที่ท้าทายนักออกแบบมาสด้าทุกคนเป็นอย่างมากในการไล่ล่าสร้างสรรค์งานการออกแบบที่สมบูรณ์แบบในช่วงครึ่งทศวรรษแรก
ผ่านมากว่า 52 ปี การออกแบบรถยนต์มาสด้ากำลังเข้าสู่ยุคใหม่ เป็นก้าวต่อไปของการคิดค้น การเสาะหางานดีไซน์ใหม่ๆ ที่อธิบายถึงความหลงใหลในศิลปะด้านการออกแบบยนตรกรรมและการขับขี่ มาสด้าได้ริเริ่มและพัฒนางานดีไซน์ด้วยการขึ้นรูปของตัวรถที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของรถมาสด้า เป็นการกำหนดภาพลักษณ์ของยนตรกรรม มาสด้า เจนเนอเรชั่นใหม่
2- มรดกของงานดีไซน์
ความหลงใหลในความเคลื่อนไหว
ความพยายามในการพัฒนาการออกแบบยนตรกรรมมาสด้า ได้เริ่มต้นขึ้นกับรถมาสด้า R360 Coupe และต่อเนื่องมาจนถึงช่วงปีพ.ศ. 2513 ถึงปี พ.ศ. 2522 ซึ่งเป็นการกำหนดรูปแบบของการออกแบบรถมาสด้าในยุคนั้น และในช่วงเวลาเดียวกันนี้เองที่มาสด้าได้สร้างภาษาของการออกแบบยนตรกรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวขึ้นมา ผลงานดังกล่าวได้แก่ รถมาสด้า Cosmo Sports 110S เป็นรถสปอร์ตที่มีดีไซน์ที่ล้ำสมัยมากในยุคนั้น และรถมาสด้า RX-7 ที่เน้นรายละเอียดของเส้นสายที่เรียบง่าย ด้วยงานดีไซน์ที่ดูลงตัว และช่วยเสริมจุดเด่นในสมรรถนะอันทรงพลังจากเครื่องยนต์โรตารี่ และจากความพยายามตรงจุดนี้ ทำให้เกิดบุคลิกภาพเฉพาะและความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของรถมาสด้า และได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของแบรนด์มาสด้านับตั้งแต่นั้นมา
ในการผ่านเข้าสู่ช่วงครึ่งในทศวรรษหลังระหว่างปี พ.ศ. 2523-2532 มาสด้าให้ความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ กับความปรารถนาอัน
แรงกล้าที่ต้องการเห็นการพัฒนายนตรกกรม ด้วยงานดีไซน์ที่เปี่ยมไปด้วยพลังและตอบสนองทางด้านอารมณ์อย่างแท้จริง ความปรารถนาดังกล่าวได้ถูกถ่ายทอดมาเป็นการออกแบบที่ผสมผสานการใช้งานเข้ากับความสวยงามของงานศิลปะ ด้วยการเลือกกำหนดรายละเอียดของรูปทรงและรายละเอียดของพื้นผิวรถ กลายมาเป็นรถมาสด้า MX-5 หรือ มาสด้าโรสเตอร์ ในประเทศญี่ปุ่น รถมาสด้า MX-5 จึงเป็นการกำหนดนิยามของรถสปอร์ตน้ำหนักเบา ที่ให้สมรรถนะและความเพลิดเพลินในการขับขี่อย่างแท้จริง เป็นที่ยอมรับทั่วโลก แนวทางการพัฒนานี้ยังได้ถูกนำไปใช้กับรถมาสด้า RX-7 หรือ Enfini RX-7 ในประเทศญี่ปุ่น เป็นการเสริมจุดเด่นและเอกลักษณ์เฉพาะของรถสปอร์ตเครื่องยนต์โรตารี่ ได้อย่างลงตัว
“ความเคลื่อนไหว” กับงานดีไซน์ที่สะดุดทุกสายตาจากผู้คนทั่วโลกให้หันมอง
ในปี พ.ศ.2543 การออกแบบยนตรกรรมมาสด้ายังคงมุ่งเน้นความเป็นสปอร์ต การเคลื่อนที่อย่างคล่องแคล่ว แข็งแรง ดั่งนักกีฬา ให้เป็นแนวทางการออกแบบในอีกสหัสวรรษข้างหน้า แนวทางการออกแบบที่ถ่ายทอดถึงภาษาการออกแบบใหม่ที่ถูกกำหนดขึ้นและสอดคล้องกับภาพลักษณ์ของแบรนด์ตามแบบฉบับ ซูม-ซูม นักออกแบบมาสด้าต้องการที่จะสร้างความตื่นเต้นเร้าใจให้กับลูกค้ามาสด้าและผู้สนใจ เป็นการสื่อสารของการออกแบบที่ตั้งใจกระตุ้นให้ผู้คนตกหลุมรักรถยนต์มาสด้า และให้ความเพลิดเพลินในการขับขี่ รถยนต์มาสด้ารุ่นแรกที่ได้รับการออกแบบในยุคนี้คือ รถมาสด้า6 หรือ มาสด้า Atenza ในประเทศญี่ปุ่น ตามมาด้วย รถมาสด้า RX-8 และรถมาสด้ารุ่นอื่นๆ กลยุทธ์ที่ใช้ในการออกแบบนี้ได้รับการยอมรับและยกย่องอย่างแพร่หลาย อีกทั้งยังได้รับรางวัลในอุตสาหกรรมรถยนต์อย่างมากมาย
การออกแบบยนตรกรรมมาสด้าด้วยความเป็นสปอร์ต การเคลื่อนที่อย่างคล่องแคล่ว แข็งแรง ดั่งนักกีฬา ได้ดำเนินต่อไปในการพัฒนาปรัชญาการออกแบบ นากาเร่ หรือมีความหมายว่าความต่อเนื่อง ไหลลื่น อย่างธรรมชาติ ในภาษาญี่ปุ่น ภาษาของการปรัชญาการออกแบบ นากาเร่ ได้นำเอาความสวยงามของธรรมชาติที่แสดงออกจากความเคลื่อนไหวของสรรพสิ่งในธรรมชาติในหลากหลายลักษณะ การพิถีพิถันการออกแบบเส้นสายที่ลื่นไหลต่อเนื่องของธรรมชาติผสมผสานเข้ากับการขึ้นรูปของตัวรถ การไหลอย่างต่อเนื่องของสรรพสิ่งในธรรมชาติ อาทิเช่น การแสของลม น้ำ การเปลี่ยนรูปของทรายบนเนินทรายที่มีกระแสลมมาปะทะ สายธาร ลาวา เป็นต้น มาสด้าได้นำเอาความสวยงามจากภาพของความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องไหลลื่น เหล่านั้น มาประยุกต์ใช้เป็นอีกระดับของงานดีไซน์ ภายใต้แนวทางการออกแบบ นากาเร่ มาสด้าได้ออกแบบรถต้นแบบทั้งสิ้น 7 คันด้วยกัน และหลังจากนั้นได้นำมาใช้กับการออกแบบรถมาสด้า5 ใหม่ ซึ่งเป็นรถที่ผลิตเพื่อการจำหน่ายจริง
ก้าวถัดไป กับการพัฒนาเพื่อ ความเคลื่อนไหวอันทรงพลัง
การออกแบบยนตรกรรมมาสด้าได้ดำเนินต่อไปและนำไปใช้ผลิตรถมาสด้าหลากหลายรุ่น ด้วยเส้นสายที่มีเสน่ห์ดึงดูดภายใต้คอนเซ็ปต์ของความเคลื่อนไหว เราได้มีการพัฒนาจากบทเรียนต่างๆ ที่ได้รับในการออกแบบตามแนวทางของ นากาเร่ และได้ใส่รายละเอียดเพิ่มเติมในส่วนของโครงสร้างที่ให้ความรู้สึกปราดเปรียวมากขึ้น สร้างความต่อเนื่องในภาษาของการออกแบบรถมาสด้า โดยรูปแบบและการแสดงออกแบบใหม่ช่วยเสริมสร้างความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแบรนด์มาสด้าอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น
3- มร. อิคุโอะ มาเอดะ หัวหน้าทีมออกแบบมาสด้าทั่วโลก
รถยนต์ที่ขึ้นรูปด้วยสุนทรียภาพ
ยุคของการออกแบบด้วยแนวความคิดใหม่ได้เริ่มต้นอีกครั้งหนึ่ง จากผู้ชายคนหนึ่งที่ได้ปฏิวัติการออกแบบรถสปอร์ตและรถยนต์นั่งขนาดคอมแพ็ค มร. อิคุโอะ มาเอดะ ผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายการออกแบบมาสด้า คือ บุคคลผู้อยู่เบื้องหลัง สำหรับก้าวสำคัญของมาสด้าในการเริ่มต้นการพัฒนารถต้นแบบคันล่าสุด มร. มาเอดะ ได้นำทีมนักออกแบบมาสด้า ในการพัฒนาการออกแบบรถต้นแบบคันใหม่ และการขึ้นรูป ด้วยความหลงใหลและความมุ่งมั่นของเขา
มร. อิคุโอะ มาเอดะ เคยเป็นหัวหน้านักออกแบบรถสปอร์ตมาสด้า RX-8 ซึ่งเป็นการปฏิวัติครั้งยิ่งใหญ่สำหรับการออกแบบรถสปอร์ต 4 ที่นั่ง ที่ใช้เครื่องยนต์โรตารี่ และไม่มีเสาคั่นกลางระหว่างประตูหน้าและประตูหลัง เขายังเคยเป็นหัวหน้านักออกแบบรถมาสด้า2 ที่ได้รับรางวัลรถยอดเยี่ยมของโลกในปี พ.ศ.2551 โดยเป็นรถยนต์นั่งคอมแพ็คที่พิถีพิถัน ผ่านเทคโนโลยีการลดน้ำหนักของมาสด้า อีกทั้งเขายังเป็นนักแข่งรถที่หลงใหลกับโลกของการแข่งขันด้วยความเร็ว และได้นำความรู้สึกเหล่านั้นมาใช้ในขณะที่สร้างสรรค์ลายเส้นในการออกแบบรถ
มร. อิคุโอ มาเอดะ ถือเป็นนักออกแบบมาสด้าเจนเนอเรชั่นที่2 เขามุ่งมั่นด้วยพลังและสปิริตของมาสด้าเช่นเดียวกับบิดาของเขา มร.มะทะซะบุโระ มาเอดะ ซึ่งเคยร่วมทำงานออกแบบรถยนต์นั่งมาสด้ามากมายหลายรุ่น ในปี พ.ศ.2521 มร.มะทะซะบุโระ มาเอดะ ผู้บริหารงานออกแบบรถมาสด้าทุกรุ่นในช่วงเวลานั้น เป็นผู้นำและริเริ่มการพัฒนาการออกแบบรถมาสด้า RX-7 และหลังจากนั้นมาสด้าได้เริ่มก่อตั้งฝ่ายการออกแบบ และ มร.มาเอดะ ได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้จัดการ ในเวลานั้น
อะไรคือสิ่งที่ซึมซับอยู่ภายในและสืบทอดต่อกันมา ของนักออกแบบผู้ให้กำเนิดรถมาสด้า RX-7
ในช่วงวัยมัธยมศึกษา มร. อิคุโอะ มาเอดะ เริ่มหลงใหลกับการออกแบบเมื่อครั้งที่บิดาของเขาให้ดาบที่ทำจากสเตนเลส สตีล และซาติน ซึ่งออกแบบโดย มร. เอ็นโซ่ มารี ทุกครั้งที่ มร. มาเอดะ ถือดาบ มันทำให้เขารู้สึกราวกับว่า ได้สัมผัสถึงงานดีไซน์บนมือของเขา เมื่อบิดด้ามมือจับดาบเพียงเบาๆ ความงดงามของวัสดุได้เปลี่ยนใบมีดธรรมดา ให้กลายเป็นความสวยงามและแสดงออกถึงการใช้งานเช่นกัน ผมรู้สึกประทับใจในทันที เมื่อได้สัมผัส รู้สึกได้ถึงความเป็นงานดีไซน์ที่ยอดเยี่ยม และได้เข้าใจว่าการออกแบบนั้นหมายถึงอะไร เป็นช่วงเวลาเดียวกัน ในขณะที่ มร. มะทะซะบุโระ มุ่งมั่นทำงานอย่างหนักเพื่อพัฒนาการออกแบบมาสด้า RX-7 ในขณะนั้น
ในขณะนั้น มร.มะทะซะบุโระ ได้ถ่ายทอดไว้ว่า: ผมให้ความสำคัญในการออกแบบรถมาสด้า RX-7 อยู่ 3 ประการตามลำดับ เพื่ออธิบายการขึ้นรูปตามธรรมชาติ ประการแรก ผมมองหาทางการแสดงออกที่ดีที่สุดที่สามารถถ่ายทอดลักษณะเฉพาะของเครื่องยนต์โรตารี่ ประการที่สอง ผมมุ่งมั่นเพื่อลดแรงฉุด แรงเสียดทานที่จะกระทำในการเคลื่อนที่ของรถ และประการที่สาม ผมมีจินตนาการให้รถมาสด้า RX-7 เป็นรถสปอร์ตแบบคลาสสิค ด้วยการวางโครงสร้างแบบ Front-mid-ship
เมื่อเวลาผ่านไป 25 ปี รถมาสด้า RX-8 ได้ถูกพัฒนาและออกแบบภายใต้ความดูแลของ มร. อิคุโอะ มาเอดะ ในปี พ.ศ.2546 รถมาสด้า RX-8 ได้เปิดตัวขึ้น ถือเป็นครั้งแรกในโลกของรถยนต์ สำหรับการเป็นรถสปอร์ตเจนเนอเรชั่นใหม่ และสำหรับคนรุ่นใหม่ในเวลานั้น ถือเป็นความสำเร็จที่ต่อเนื่องจากรถมาสด้า RX-8 ใน 3 เจนเนอเรชั่นที่ผ่านมา และจากที่ มร. อิคุโอะ มาเอดะ ได้เล่าให้ฟังนั้น การออกแบบรถมาสด้า RX-8 ได้มีแรงผลักดันมาจากคอนเซ็ปต์พื้นฐานของตัวรถเอง แนวทางการออกมีแค่เพียงทางเดียว ในการที่จะพัฒนารถสปอร์ต 4 ที่นั่ง ให้ประสบความสำเร็จ นั่นคือการพัฒนาโครงสร้าง ฟรีสไตล์แค็บ 4 ประตู โดยไม่มีเสามาคั่นกลาง เป็นสิ่งสำคัญและเป็นพื้นฐานในการออกแบบที่ต้องคิดอยู่เสมอ
จากที่เราได้รับฟังเรื่องราวจาก พ่อ-ลูก ทั้งสอง เป็นการยืนยันสปิริตของนักออกแบบมาสด้าด้วยแรงศรัทธาที่มุ่งมั่น สืบสานถ่ายทอดกันมาจากรุ่นหนึ่งไปอีกรุ่นหนึ่ง สร้างยนตรกรรมที่มีชื่อเสียง และได้รับการยอมรับมากมายหลายรุ่น มร. อิคุโอะ ได้เปิดเผยความในใจที่ว่า “วิธีการแสดงออกของงานดีไซน์ของผมแตกต่างจากคุณพ่อของผมเป็นอย่างมาก แต่กระนั้นถ้ามองให้ลึกซึ้งจะพบว่ามันอยู่บนพื้นฐานและเป้าหมายของการออกแบบเดียวกัน เมื่อมองถึงการได้เป็นเจ้าของรถคันนี้ มันคือรถที่ถูกออกแบบเพื่อให้เกิดศักยภาพของกลไกการทำงานสูงสุด
มร. อิคุโอะ มาเอดะ ได้กล่าวไว้ว่า “ในฐานะของผู้รับผิดชอบและหัวหน้าทีมนักออกแบบมาสด้า และเมื่อพิจารณาถึงการปฏิวัติการออกแบบยนตรกรรมมาสด้า ผมตัดสินใจกลับไปใช้ความเชื่อดั่งเดิมของผมที่ว่า การออกแบบรถยนต์ไม่ใช่เพียงแค่การออกแบบผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรม แต่เปรียบได้กับเครื่องจักรที่ควรค่าแก่การหวงแหน และหลงใหลเป็นอย่างยิ่ง ไม่ได้เป็นเพียงแค่การแสดงออกด้วยงานดีไซน์ที่ดูหวือหวา มีผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมเพียงไม่กี่ประเภทที่สามารถเปรียบเทียบการออกแบบกับสรรพสิ่งที่มีชีวิตในธรรมชาติ ที่ซึ่งแสดงออกถึงพละกำลังเมื่อเคลื่อนไหว มองดูมีเสน่ห์น่าหลหลงใหล นี่คือความสวยงามที่ปรากฏกับทุกสายตา ถ่ายทอดออกมาจากภายใน ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมต้องการถ่ายทอดไปสู่รถยนต์มาสด้า”
4-แนวทางการออกแบบ
‘โคโดะ – จิตวิญาณของความเคลื่อนไหวอันงดงาม’
ผ่านยุคสมัยในประวัติศาสตร์การออกแบบมาสด้า มาสด้าได้บุกเบิกและคิดค้น การขึ้นรูปและรูปทรงต่างๆ มากมายที่บรรยายถึง การเคลื่อนที่ หรือ motion ในหลายปีที่ผ่านมา เป็นการหล่อหลอมรวมเอาความสวยงามของการเคลื่อนไหวของสรรพสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็น กระแสลม การไหลของน้ำ นำมาใช้พรรณนาถ่ายทอดงานดีไซน์ของมาสด้า
ความคิดสร้างสรรค์และแนวทางของมาสด้าได้เริ่มขึ้นแล้ว ปรัชญาการออกแบบของมาสด้าสำหรับยนตรกรรมในยุคถัดไป คือการผสมผสาน ความสวยงามและพลังเข้าไว้ด้วยกัน เป็นสิ่งที่เรามองเห็นและสัมผัสได้ในการเคลื่อนไหวของสิ่งมีชีวิต ทั้งมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย มันเป็นภาพในช่วงเวลาของการเคลื่อนที่ ที่กำลังจะเริ่มขึ้น ตัวอย่างเช่น ช่วงจังหวะที่เสือซีต้าห์กำลังจะกระโจนเข้าตะครุบเหยื่อ หรือในศิลปะการป้องกันตัวในอดีตของญี่ปุ่น ในจังหวะที่ดาบ “เคนโด้” กำลังจะถูกฟาดเพื่อเข้าจู่โจม ทั้งหมดคือช่วงเวลาขณะที่พละกำลังที่ถูกรวบรวมเอาไว้เพื่อใช้งาน ได้ถูกปลดปล่อยออกมาอย่างรวดเร็ว มันเป็นการแสดงออกถึงความสมดุลของ ความแข็งแรง และความปราดเปรียวได้อย่างประณีต ในจังหวะเข้าจู่โจมนั้นต้องใช้สมาธิและการช่วงชิงจังหวะ ทำให้รับรู้ได้ถึง พละกำลัง ความเร็ว และกล้ามเนื้อและรูปทรงที่มีความแข็งแรง ทั้งหมดก่อเกิดโดยธรรมชาติ เป็นความสวยงามที่ประณีต มีเสน่ห์อย่างไม่น่าเชื่อ
มาสด้าได้กำหนดการเคลื่อนไหวโดยฉับพลันแบบนี้ ที่เต็มเปี่ยมด้วยพละกำลัง ความรวดเร็ว แสดงออกอย่างน่าเกรงขาม ให้เป็นเป็นแนวทางของการขึ้นรูปงานดีไซน์ และเป็นการให้คำนิยามของ โคโดะ ‘KODO’ ที่มาสด้าจะใช้ในการออกแบบรถยนต์มาสด้าให้มีภาพลักษณ์ของความเร็ว ความทรงพลัง รวมถึงองค์ประกอบต่างๆ ทำให้ดูมีชีวิตชีวา แสดงออกถึงจิตวิญญาณ ‘Kodo – Soul of Motion’ เป็นภาษาการออกแบบใหม่ที่เป็นตัวแทนของรถมาสด้าเจนเนอเรชั่นใหม่
Keywords: Speed, Tense, and Alluring
ความรวดเร็ว ทรงพลัง และความงดงาม
ความรวดเร็ว (Speed): การขึ้นรูปที่บ่งบอกถึงความรวดเร็ว ให้ภาพของรถยนต์ที่มีปลุกเร้าสัญชาตญาณของสรรพสิ่งมีชีวิตให้เกิดความต้องการในการควบคุมเครื่องจักรอันนี้ เป็นเครื่องจักรที่มีความเร็วและทรงพลัง
ทรงพลัง (Tense): การขึ้นรูปที่ก่อให้เกิดความพิถีพิถันของความแข็งแกร่งมีพละกำลัง ในจังหวะการเริ่มต้นของการเคลื่อนที่เข้าจู่โจม เป็นการขึ้นรูปที่ประณีต ที่มีรากฐานของความเรียบง่ายด้วยสปิริตของชาวญี่ปุ่น
ความงดงาม (Alluring): คุณภาพที่สามารถสัมผัสได้ ถ่ายทอดอย่างลึกซึ้ง เหนือระดับ ด้วยความประณีต และการเลือกสรรอย่างมีคุณค่า รู้สึกได้ถึงศิลปะของผลิตภัณฑ์ที่ทำจากมือของมนุษย์อย่างปราณีต
เราได้ผสมผสานคุณสมบัติทั้งสามอย่างเพื่อเป็นองค์ประกอบสำคัญในการขึ้นรูปของ โคโดะ จิตวิญญาณของความเคลื่อนไหวที่งดงาม ‘KODO – Soul of Motion’
5 – รถต้นแบบมาสด้าชินาริ
มาสด้า ชินาริ – ความเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วและความแข็งแรงที่จู่โจมได้อย่างเร้าใจ
มาสด้า ชินาริ คือรถต้นแบบที่ออกแบบด้วยความบริสุทธิ์งดงาม เป็นต้นแบบของรถสี่ประตู และรถสปอร์ตสองประตู 4 ที่นั่ง ที่แสดงออกถึงแนวทางการออกแบบ โคโดะ จิตวิญญาณของความเคลื่อนไหวอันงดงาม ด้วยรูปลักษณ์ที่สง่างาม
ในภาษาญี่ปุ่น ชินาริ บรรยายถึงรูปลักษณ์ที่อ่อนโยนสวยงามแต่เต็มเปี่ยมด้วยพลัง พร้อมกับคุณสมบัติของความยืดหยุ่น สามารถรักษารูปทรงของตัวเองได้ถึงแม้จะได้รับแรงดึง ยืด หรือบิดตัวอย่างรุนแรง คล้ายกับคุณสมบัติธรรมชาติในเหล็กและไม้ไผ่ ชินาริ ยังหมายถึงตัวตนของบุคคลหรือสิ่งมีชีวิตที่พร้อมจะเคลื่อนไหวอย่างอิสระได้ด้วยความรวดเร็วฉับไวทันที ภายใต้การเคลื่อนไหวดังกล่าว นักออกแบบมาสด้าได้ค้นพบศักยภาพที่แท้จริง
โคโดะ จิตวิญญาณของความเคลื่อนไหวที่งดงาม
ในวินาทีแรกที่ได้เห็น มาสด้า ชินาริ สามารถรับรู้ได้ถึงอารมณ์และความรู้สึก ขึ้นรูปด้วยภาพลักษณ์ที่ทรงพลัง ภายใต้รูปทรงที่ลาดเอียงและกล้ามเนื้อที่แข็งแรง แต่ในขณะเดียวกันก็ดูนุ่มนวลอ่อนโยนพิถีพิถัน มาสด้าปรารภนาที่จะเข้าถึงกลุ่มลูกค้าผู้หลงใหล และไปให้ไกลเกินกว่าความเป็นตรรกะความเป็นเหตุเป็นผล
ความท้าท้ายของนักออกแบบ
ยะซูชิ นากามูตะ หัวหน้านักออกแบบ ผู้ออกแบบรถมาสด้า MX-5 เจนเนอเรชั่นที่3 เป็นผู้ริเริ่มแนวคิดของรถต้นแบบ ชินาริ “นับเป็นความท้าทายของเราในการสร้างสรรค์ การแสดงออกของงานดีไซน์สมัยใหม่ ที่ทรงพลัง เป็นสิ่งที่พวกเราไม่เคยทำมาก่อน เราเริ่มต้นด้วยการออกแบบงานดีไซน์โดยประหนึ่งว่ามีนักล่าเหยื่ออยู่ใกล้ๆ ภาพขณะจู่โจมเข้าตะครุบเหยื่อ หรือ ภาพของเคนโด้ ที่กำลังเข้าประชิดจู่โจม เป็นศิลปะการต่อสู้ด้วยดาบในอดีตของชาวญี่ปุ่น เพื่อให้เข้าใจถึงพละกำลังที่ถูกปลดปล่อยออกมาอย่างรวดเร็ว
การถ่ายทอดอารมณ์ในขณะนั้นเป็นการเคลื่อนไหวที่มีการปลดปล่อยพลังทั้งหมดออกมา เป็นสิ่งที่มาสด้าใช้เป็นต้นแบบของการออกแบบรถต้นแบบมาสด้าชินาริ และเป็นความท้าทายในการทำงานของทั้งนักออกแบบและนักขึ้นรูปรถต้นแบบหรือโมเดลเลอร์ ขบวนการการทำงานเกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่างๆ มากมายในหลากหลายสถานที่ ที่ทีมงานทุกคนมุ่งมั่นอย่างแรงกล้า รวมไปถึงการที่นักออกแบบแต่ละคนต้องวาดงานดีไซน์ด้วยลายเส้น และการปั้นรูปปั้นดินเหนียว ที่แสดงถึงภาพลักษณ์ของ โคโดะ – จิตวิญญาณของความเคลื่อนไหวที่งดงาม จากนั้นเป็นการเดินหน้าของการค้นพบความสวยงามของการออกแบบที่สามารถตอบสนองการใช้งานได้ ดังเช่น งานศิลปะแบบดั้งเดิมในสไตล์ญี่ปุ่น
ในขณะที่ทีมงานเดินหน้าในขบวนการการทำงาน มร. นากามูตะ ให้ความสำคัญเรื่องแรงที่เข้ากระทำกับวัตถุที่สามารถทำให้แผ่นเหล็กเกิดการบิดโค้งได้ การออกแบบรถต้นแบบมาสด้าชินาริ ได้ใส่รายละเอียดของการบิดตัวที่ประณีตของกล้ามเนื้อหรือรูปทรง เกิดเป็นภาพงานดีไซน์ที่ดูปราดเปรียว มีพลังประหนึ่งว่าเคลื่อนไหว และสามารถถ่ายทอดถึงแนวทางของ โคโดะ – จิตวิญญาณของความเคลื่อนไหวที่งดงาม
การออกแบบภายนอก – การแสดงออกแบบไร้ขอบเขตของการเคลื่อนที่ด้วยความปราดเปรียว
ในภาพของพลังและความแข็งแรงที่ค่อยๆ ปลดปล่อยออกมาผ่านพื้นผิวและองค์ประกอบต่างๆ มาสด้าชินาริให้ภาพและความรู้สึก ประหนึ่งว่าจะทะยานออกจากที่อย่างรวดเร็วในทันใดนั้น กระดูกสันหลังที่แข็งแรงลากพาดผ่านตัวรถ การปลดปล่อยพลังที่ถูกเก็บไว้ภายใน ประสานกับความสวยงาม รูปทรงที่นุ่มนวล ต่างเป็นองค์ประกอบสำคัญที่รวมเข้าไว้ด้วยกัน
ภาพของเสาเอ เอียงลาดไปในทิศทางของตัวถังด้านท้าย รูปทรงของห้องโดยสาร โป่งล้อด้านหน้า และองค์ประกอบอื่นๆ ของชินาริ สอดผสานรวมกันให้เกิดเป็นสัดส่วนที่ลงตัว และแสดงออกถึงการปลดปล่อยพลังงานอย่างรวดเร็วทันทีเสมือนกับกำลังขับเคลื่อนรถไปข้างหน้า การออกแบบโป่งล้อด้านหน้าที่โดดเด่นสะท้อนถึงการปฏิวัติการออกแบบที่แตกต่างและได้นำไปใช้กับรถมาสด้า RX-8 ช่วยสร้างความมั่นคงและแข็งแรงของซุ้มล้อหน้าและให้ความรู้สึกคล่องแคล่วปราดเปรียวในด้านข้างของตัวรถ เป็นสไตล์ที่สปอร์ตและหรูหราในขณะเดียวกัน เส้นสายต่างๆ ไหลจากโป่งล้อหน้าต่อเนื่องไปจรดกับด้านข้างและทอดยาวไปยังโป่งล้อด้านหลัง ด้วยลักษณะของพื้นผิวที่ซ้อนกัน เป็นการผสมผสานที่สร้างเป็นภาพที่ให้ความรู้สึกถึงพลัง ความแข็งแรง สวยและสง่างาม
พื้นผิวตัวถังดูประหนึ่งว่ากำลังเคลื่อนที่ ไม่มีรูปทรงอันไหนเลยที่ดูหยุดนิ่งอยู่กับที่ จึงให้ความรู้สึกเหมือนกับรถกำลังเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา ตัวอย่างเช่น การควบคุมการออกแบบมุมองศาระหว่างพื้นผิวด้านบนกับตัวถังด้านข้างตั้งแต่ด้านหน้าจรดท้ายท้ายรถ เป็นการสร้างรูปทรงที่ดูมีประกายของการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว ผ่านตัวถังของรถ
การขึ้นรูปแบบ 3 มิติของกระจังหน้า เป็นการเสริมภาพความเป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์มาสด้า การเลือกใช้เส้นสายที่มีการเคลื่อนไหว จากกระจังหน้าต่อเนื่องถึงฝากระโปรง โป่งล้อ ไฟหน้า และกันชนหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เส้นหลักของกระจังหน้าที่เชื่อมต่อกับไฟหน้าทั้งสองข้าง เป็นงานดีไซน์ 3 มิติ ที่ให้ความรู้สึกรวดเร็ว และเป็นองค์ประกอบที่เป็นสัญลักษณ์ใหม่ของมาสด้า ในส่วนของไฟหน้า นักออกแบบมาสด้าออกแบบโครงสร้างของไฟหน้าไม่มีเลนส์ด้านนอก เปิดให้เห็นความลึกและมิติของโคมไฟ คล้ายกับดวงตาของสิ่งมีชีวิต สัตว์ป่า ที่จ้องมองจังหวะที่จะเข้าตะครุบเหยื่อ
คุณสมบัติด้านอากาศพลศาสตร์เป็นสิ่งสำคัญมากในการออกแบบชินาริ ในตำแหน่งตรงกลางของส่วนด้านล่างทั้งกันชนหน้าและกันชนหลัง ถูกออกแบบให้อากาศสามารถไหลผ่านด้านล่างของตัวรถได้อย่างราบรื่นมากที่สุด พื้นผิวที่ยื่นออกมาผสานระหว่างกันชนหน้า ตัวถังด้านข้าง และกันชนท้าย ทำให้เกิดการต่อเนื่องราบรื่นสวยงามเช่นเดียวกับเส้นสายบนตัวถังที่ช่วยรีดอากาศอย่างราบรื่น จึงเป็นผลทำให้มีคุณสมบัติด้านอากาศพลศาสตร์ที่ยอดเยี่ยม
กระจกมองข้าง ล้อ และท่อไอเสีย ออกแบบได้อย่างปราดเปรียว ให้ความรู้สึกโปร่งโล่ง เบา ถ่ายทอดถึงความรู้สึกของงานดีไซน์ที่ทำด้วยมือ สัมผัสของความปราณีตพิถีพิถัน จึงทำให้เกิดความประทับใจกับงานคุณภาพชั้นสูง เหนือระดับ
สำหรับสีภายนอก เลือกใช้สีน้ำเงินเมทัลลิก เรืองแสง เพื่อให้ภาพของ โลหะ เกิดความสวยงามของแสงและเงาที่ตกกระทบบนพื้นผิว เป็นความสมดุลของงานดีไซน์ที่ผสมผสานความแม่นยำในการขึ้นรูปทรง 3 มิติ และการออกแบบพื้นผิวที่โค้งมนและลื่นไหลอย่างลงตัว คล้ายอารมณ์ของความสุขุมน่าเกรงขามจากประกายแสงที่สะท้อนเป็นจังหวะๆ ของดาบญี่ปุ่นที่ทำจากเหล็กกล้า ทำให้เกิดสัมผัสของงานดีไซน์ที่มีคุณภาพสูง
การออกแบบภายใน – การคิดค้นแนวทางของความเป็นหนึ่งเดียวระหว่างรถและผู้ขับขี่
การสร้างรถต้นแบบ ชินาริ เป้าหมายของมาสด้าในการออกแบบภายใน คือ การออกแบบห้องโดยสารให้แสดงออกถึง DNA ของมาสด้า การออกแบบภายนอกสามารถชื่นชมได้ผ่านแนวคิดของความเคลื่อนไหว สำหรับการออกแบบภายในเป็นประสบการณ์ของห้องโดยสารที่อยู่กับที่และการออกแบบตำแหน่งของการนั่ง สิ่งสำคัญคือกลไกการใช้งานที่ครบครันและการออกแบบที่ใช้หลักของสรีระวิทยาที่สร้างสรรค์ ความลงตัวให้กับผู้ขับขี่ ซึ่งทำให้เกิดเป็นแนวทางของการออกแบบพื้นที่แบบ ‘Ultimate Atheletic Space’ ที่ให้ความรู้สึกและสัมผัสถึงความรวดเร็ว ภายในห้องโดยสาร
ทันทีที่ก้าวเข้าไปภายในห้องโดยสาร สายตาของคุณจะถูกดึงดูดไปในส่วนของผู้ขับขี่ รวมทั้งองค์ประกอบต่างๆ โดยรอบผู้ขับขี่ การออกแบบด้วยการต่อเนื่องของพื้นผิวการกำหนดมุมองศา เป็นตัวกำหนดภาพรวมของการออกแบบภายใน จุดเด่นของการออกแบบภายในคือการเล่นพื้นผิวระหว่างผิวด้านบนและด้านล่างของคอนโซลหน้า ความคมชัดของงานดีไซน์ชั้นสูงและรายละเอียดของกลไกการใช้งานที่จัดวางอย่างลงตัว ความประณีตศิลป์ของการออกแบบที่เลือกใช้การตกแต่งด้วยชิ้นส่วนที่มีแสงสว่าง เป็นองค์ประกอบของมาตรวัดและอุปกรณ์ต่างๆ โดยรอบผู้ขับขี่ เน้นความรู้สึกและสัมผัสที่รวดเร็ว การนำวัสดุที่หลากหลายมาใช้ในการออกแบบรวมไปถึง ชิ้นงานอลูมิเนียมกัดเงา วัสดุหนังที่นุ่มนวลอย่างธรรมชาติ รูปทรงที่เฉียบคมของแผงอุปกรณ์ไฟฟ้าและแผงควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ บ่งบอกถึง งานคุณภาพและมีเสน่ห์ดึงดูด เหนือกว่าความคาดหวัง
ความปราณีตศิลป์ที่ตอบสนองทุกการควบคุม
มาสด้าเน้นการออกแบบแผงอุปกรณ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์ควบคุมต่างๆ ให้มีความสัมพันธ์กันในการใช้งาน โดยการสร้างและกำหนดพื้นที่ของอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถเข้าควบคุมได้สะดวกเป็นไปตามธรรมชาติและสอดคล้องกับสรีระของมนุษย์หรือ ‘reach zones’ หรือที่มาสด้าใช้ชื่อว่า ‘dedicated driving ergonomics’ แผงอุปกรณ์ไฟฟ้าและแผงอุปกรณ์ควบคุมต่างๆ ถูกออกแบบและจัดวางตำแหน่งที่ช่วยเสริมสร้างประสบการณ์การขับขี่ที่ดียิ่งขึ้น แผงอุปกรณ์ไฟฟ้าออกแบบให้แยกเป็นสองส่วน ในส่วนของผู้ขับขี่ออกแบบให้พิเศษเป็นอิสระเพื่อให้ผู้ขับขี่สามารถควบคุมการขับขี่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการยืนยันถึงการให้ความสำคัญในส่วนนี้ แผงอุปกรณ์ไฟฟ้าหลัก (Primary) และส่วนที่สอง (Secondary) จัดวางไว้อย่างสอดคล้องกันในภาพรวม อุปกรณ์การควบคุมวางกระจายอย่างลงตัว จึงสามารถให้ความสะดวกในการใช้งาน จากตำแหน่งของผู้ขับขี่ พวงมาลัย สามก้านขนาดใหญ่ ดีไซน์พิเศษ การออกแบบเบาะนั่ง และใช้สีที่เป็นเอกลักษณ์ ให้ความนุ่มสบายอย่างเหมาะสม
หลักการเรื่องของการสร้างและกำหนดพื้นที่ของอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถควบคุมได้สะดวกตามธรรมชาติและสอดคล้องกับสรีระของมนุษย์ ‘dedicated driving ergonomics’ ถูกนำมาใช้กับรถเจนเนอเรชั่นถัดไปเพื่อการพัฒนาด้านการทำงานที่สัมพันธ์กันระหว่างมนุษย์และเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ Hunman Maching Interface (HMI) การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีขนาดเล็กลงจึงทำให้นักออกแบบสามารถออกแบบด้วยการแสดงผลข้อมูลให้สอดคล้องกับการทำงานของมนุษย์และเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ ในรูปแบบ 3 มิติ องค์ประกอบดังกล่าวถือเป็นเทคโนโลยีด้าน HMI ที่ทันสมัยที่สุด ระบบการทำงานมีให้เลือก 3 โหมด ด้วยกันคือ “โหมดธุรกิจ โหมดความเพลิดเพลิน และโหมดสปอร์ต” หรือ ‘Business, Pleasure, Sport’
โหมดธุรกิจ ช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถเข้าถึงข้อมูลการทำงานได้ตลอดเวลา โหมดความเพลิดเพลิน จะเน้นความบันเทิง ความสะดวกสบาย ช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถเลือกบรรยากาศและอารมณ์ของห้องโดยสารตามอัธยาศัยเพื่อความผ่อนคลาย สำหรับโหมดสปอร์ต การขับขี่จะปรับเป็นแบบสปอร์ต การทำงานของการควบคุมเกียร์ Puddle Shifter จะเริ่มต้นขึ้น ช่วงล่างจะถูกปรับแต่งให้สมรรถนะการขับขี่แบบสปอร์ต องค์ประกอบและอุปกรณ์การควบคุมอื่นๆ จะเอื้อและอำนวยความสะดวกต่อประสบการณ์การขับขี่แบบสปอร์ต
พื้นผิวของแผงคอนโซลวางตำแหน่งไว้ในระดับที่ต่ำ และมีระยะห่างจากผู้โดยสาร ให้ความรู้สึกโปร่งโล่งสบาย การทำงานที่สัมพันธ์กันระหว่างมนุษย์และเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ Hunman Maching Interface (HMI) รวมทั้งการควบคุมตำแหน่งการนั่งอย่างละเอียดของผู้โดยสารด้านหน้าเป็นอีกก้าวหนึ่งของการออกแบบภายในของรถมาสด้าที่ใส่ใจในรายละเอียด และตอบสองการใช้งานอย่างแท้จริง ถึงแม้ว่าการออกแบบพื้นที่จะเน้นประโยชน์ใช้สอย แต่กระนั้นก็ยังสามารถเพิ่มความรู้สึกถึงสมรรถนะการขับขี่ที่ยอดเยี่ยม
รถต้นแบบมาสด้าชินาริคือการออกแบบที่สามารถเชื่อมโยงผู้ขับขี่เข้ากับรถหรืออุปกรณ์ควบคุมได้อย่างลึกซึ้งที่สุด และเป็นการเริ่มต้นของแนวทางการออกแบบยนตรกรรมล่าสุดของมาสด้า โคโดะ-จิตวิญญาณของความเคลื่อนไหวที่งดงาม ชินาริถ่ายทอดสุนทรีศาสตร์ของงานศิลปะที่ตอบสนองการใช้งาน และเป็นต้นแบบของการคิดค้นที่มาสด้าจะดำเนินต่อไปเพื่อการสร้างสรรค์ยนตรกรรมในอนาคต
การแสวงหาต้นกำเนิดและการเริ่มต้นของมาสด้าและชาวญี่ปุ่น
กับชินาริ คือก้าวแรก ที่ มร. อิคุโอะ มาเอดะ ผู้จัดการทั่วไป แผนกการออกแบบมาสด้า ตั้งใจที่จะสร้างงานดีไซน์ดั้งเดิมที่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายทั่วโลก เขาได้สรุปได้เป็นคำพูดต่างๆ เหล่านี้
“เป้าหมายของผมคือการสร้างผลงานการออกแบบที่ทุกคนสามารถชี้ให้เห็นและอธิบายอย่างภาคภูมิใจได้ว่า นี่แหละคือการออกแบบยนตรกรรมมาสด้า มันไม่สำคัญสำหรับมาสด้าในการพัฒนายนตรกรรมสำหรับผู้คนที่เพียงแต่ต้องการความมีสไตล์ และทันสมัย เท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนา การออกแบบรถสปอร์ต หรือ รถยนต์นั่งขนาดเล็ก ก็ตาม เราต่างมุ่งมั่นเสมอมาในการสร้างผลงานการออกแบบที่สร้างความตื่นตาตื่นใจ และตอบสนองทางอารมณ์ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผมจะรักษาการทำงานแบบนี้ต่อไปเพื่อสร้างสรรค์ ยนตรกรรมที่สวยงามสำหรับผู้คนที่รัก และหลงใหลในโลกยานยนต์ มันเป็นความเชื่อส่วนตัวของผมว่า ในการที่จะสร้างสรรค์งานดีไซน์ที่สามารถเชื่อมโยงผู้คนที่มีความหลงใหล ได้อย่างลึกซึ้งนั้น ผู้ออกแบบจำเป็นที่จะต้องใช้พลังและแรงศรัทธาที่มีต่องานนั้นและในที่นี้คือความหลงใหลในยนตรกรรม รวมทั้งความทุ่มเท ให้เป็นเสมือนนโยบายแก่นแท้ในการทำงาน จึงจะสามารถสะท้อนและถ่ายทอดผลงานได้อย่างสัมฤทธิผล
“และยิ่งไปกว่านั้น ผมเล็งเห็นและให้ความสำคัญที่จะใส่รายละเอียดของความรู้สึกที่รับรู้ได้ถึงต้นกำเนิดของลักษณะการออกแบบยนตรกรรมของคนญี่ปุ่น มันไม่ใช่แค่การผสมผสานความเป็นญี่ปุ่นแบบดังเดิมเข้าไปในการออกแบบตัวรถ แต่เป็นการใส่จิตวิญญาณของชาวญี่ปุ่นให้เกิดในงานออกแบบที่สามารถสัมผัสรับรู้ได้โดยจิตใต้สำนึก ดังนั้นสำหรับการออกแบบที่จะเป็นแนวทางในอนาคต เป้าหมายของผมคือการสร้างยนตรกรรมที่สามารถจดจำได้ว่าเป็นเพียงยนตรกรรมมาสด้าเท่านั้น แม้เพียงได้เห็นในระยะไกลก็ตาม และจุดมุ่งหมายสูงสุดคือการสร้างการรับรู้ได้ของแบรนด์ ที่ผู้หลงรักในโลกยานยนต์จากทั่วทุกมุมโลกสามารถระบุและจดจำได้ทันทีว่าเป็นยนตรกรรมมาสด้า และมีต้นกำเนิดจากประเทศญี่ปุ่น สำหรับอนาคต มาสด้าจะขับเคลื่อนผู้คนทั้งทางกายภาพและความชื่นชมทางอารมณ์ กับ โคโดะ – จิตวิญญาณของความเคลื่อนไหวอันงดงาม
6-ทีมงานออกแบบจากทั่วโลก
สปิริตแบบ ซูม-ซูม บอกเล่าถึงงานดีไซน์มาสด้า
การออกแบบมาสด้าเป็นการทำงานร่วมกันของสตูดิโอการออกแบบ 4 แห่งทั่วโลก ประกอบไปด้วย สตูดิโอ ตั้งอยู่ที่ เมืองเออร์วิน แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา, สตูดิโอที่เมืองโอแบรูเซล ตั้งอยู่ไม่ไกลจากแฟรงค์เฟิร์ต เยอรมนี, เมืองโยโกฮามา และเมืองฮิโรชิมา ในประเทศญี่ปุ่น ดีไซน์สตูดิโอทั้ง 4 แห่ง ทำหน้าที่สำคัญในการให้ข้อมูล แนวคิดของการออกแบบยานยนต์และรถต้นแบบ จากทั่วทุกมุมโลก โดยมีที่สำนักงานใหญ่ประเทศญี่ปุ่นเป็นศูนย์กลาง แต่ละสตูดิโอจะนำเสนอดีไซน์ที่ตอบสนองตลาดในพื้นที่ของตัวเอง ณ เมืองเออร์วิน มาสด้าสตูดิโอมุ่งมั่นสร้างสรรค์งานออกแบบสำหรับยนตรกรรมและรถต้นแบบที่ตอบสนองในทวีปอเมริกาเหนือ ภายใต้การกำหนดแนวทางการทำงานประจำวันของ มร. เดเร็ค เจอร์คิ้นส์ ผู้อำนวยการการออกแบบ ณ เมืองโอแบรูเซล มร.ปีเตอร์ เบิร์ทวิสเทิล หัวหน้านักออกแบบ ของสตูดิโอและศูนย์วิจัยและพัฒนาในทวีปยุโรป มุ่งมั่นสร้างสรรค์งานออกแบบสำหรับยนตรกรรมและรถต้นแบบที่ตอบสนองในทวีปยุโรป ในขณะเดียวกัน ณ เมืองโยโกฮามา ประเทศญี่ปุ่น มาสด้าสตูดิโอและการวางกลยุทธ์การออกแบบ ภายใต้การนำของ มร. ยาซูชิ นากามูตะ หัวหน้าทีมนักออกแบบ – การผลักดันเพื่อการพัฒนาการออกแบบชั้นสูง และการวิจัยถึงแนวโน้มของการออกแบบในอนาคต แต่อย่างไรก็ตามมาสด้าสตูดิโอแต่ละแห่งไม่ได้ทำงานเพื่อตลาดของตัวเองแต่เพียงเท่านั้น ในความเป็นจริง ถือเป็นขบวนการการทำงานร่วมกันอันก่อให้เกิดมุมมองและแนวคิดที่หลากหลาย เป็นผลงานออกแบบที่รวมเอาความต้องการและรสนิยมจากทั่วทุกประเทศ ขบวนการการทำงานนี้ทำให้ มาสด้าสตูดิโอแต่ละแห่งมีความเข้าใจซึ่งกันและกัน และสามารถสร้างสรรค์งานออกแบบให้กับตลาดในพื้นที่อื่นๆ ทั่วโลกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นเรื่องธรรมดา ถ้าการพัฒนาออกแบบสำหรับทวีปยุโรปจะเริ่มต้นการออกแบบจากดีไซน์สตูดิโอที่เมืองโอแบรูเซล ในเยอรมนี และที่เมืองเออร์วิน ในแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา และทำการสร้างรถต้นแบบขึ้น ณ สตูดิโอในประเทศญี่ปุ่น เพื่อจัดแสดงในมหกรรมยานยนต์สำคัญในทวีปยุโรป แต่สำหรับรถต้นแบบชินารินั้น ภายนอกถูกออกแบบ ณ สตูดิโอ ในประเทศญี่ปุ่น และภายในออกแบบจาก มาสด้าสตูดิโอในอเมริกาเหนือ MNMO ณ เมืองเออร์วิน ในแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
ความคิดและแนวคิดทั้งหมดจะถูกรวบรวมและนำเสนอต่อ มร. อิคุโอะ มาเอดะ ณ สำนักงานใหญ่มาสด้า เมืองฮิโรชิมา เพื่อกำหนดนโยบายและกลยุทธการออกแบบรวมถึงการพัฒนาตามหลักวิศวกรรม ในหลายปีที่ผ่านมานี้ เทคโนโลยีสมัยใหม่ในด้านการสื่อสาร การออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีภาพและการสร้างสรรค์ภาพ ช่วยให้การทำงานของนักออกแบบสามารถทำได้อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าเวลาในทำงานของนักออกแบบในแต่ละภูมิภาคจะไม่ตรงกัน นักออกแบบในแต่ละดีไซน์สตูดิโอสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องในเวลา 24 ชั่วโมง สามารถสื่อสารกันได้ตลอดเวลาเป็นโกลบอลทีมหรือทีมงานใหญ่จากทั่วทุกมุมโลกอย่างแท้จริงทุกคนทำงานร่วมกันให้เกิดเป็นแนวทางที่ผสมผสานแบบสากล โดยแต่ละคน แต่ละสตูดิโอ ใช้ความถนัดความเชี่ยวชาญ และเน้นมุมมองของกลุ่มตลาดในพื้นที่ของตัวเอง เป็นสิ่งแวดล้อมของการทำงานที่เต็มไปด้วยความหลากหลายของข้อมูลและความชำนาญเกิดเป็นการแข่งขันภายในทีมงาน ในขณะเดียวกันยังคงไว้ด้วยการรับฟังแลกเปลี่ยนเพื่อให้แน่ใจว่าถึงการทำงานที่สำเร็จลุล่วงตามเวลาที่กำหนด มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเหนือข้อจำกัดด้านพรมแดนและระยะทางของสถานที่
ดีไซน์สตูดิโอในแต่ละแห่งทำงานกันเป็นสามส่วนด้วยกันประกอบไปด้วย การสร้างรถต้นแบบซึ่งเป็นที่มาของการพัฒนายานยนต์เพื่อการจำหน่าย และการกำหนดกลยุทธ์การออกแบบยนตรกรรมในอนาคตของมาสด้า สำหรับในส่วนหลังนั้น สามารถอธิบายถึงการทำงานได้ถึงความพยายามในการตอบคำถามที่ว่า ขณะนี้แนวทางและเป้าหมายของเราคืออะไร และอะไรที่เราต้องทำ เพื่อไปให้ถึงเป้าหมายนั้น นั่นคือสิ่งที่สำคัญมากต่อธุรกิจของมาสด้า เป็นการสะท้อนถึงสปิริตที่มีด้านการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่วางรากฐานการทำงานของบริษัทฯ ความยินดีที่จะรับและทดลองสิ่งใหม่ๆ ทำให้มาสด้ากลายเป็นผู้นำทางเทคโนโลยีที่แตกต่าง สร้างสรรค์ยนตรกรรมที่น่าตื่นเต้น มีประสิทธิภาพสูง น้ำหนักเบา ปราดเปรียว มากยิ่งๆ ขึ้นกว่าในอดีต และเป็นการยืนยันความเป็นมาสด้า คือ สไตล์ สปิริต และดีไซน์ที่โดดเด่น เป็นการผสมผสานของประสบการการณ์ขับขี่ที่เพลิดเพลิน ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สมรรถนะด้านความปลอดภัย เป็นที่มาของวิสัยทัศน์การพัฒนายนตรกรรม และเทคโนโลยีของมาสด้าในระยะยาวหรือที่เรียกว่า ซูม-ซูม แบบยั่งยืน
สำนักงานใหญ่ของการออกแบบมาสด้า ณ เมืองฮิโรชิมา ตั้งอยู่ใกล้กับศูนย์กลางของงานวิศวกรรมและโรงงานการผลิต ซึ่งโดยทั่วไปจะมุ่งเน้นการออกแบบและการพัฒนารถสำหรับการพาณิชย์ ดีไซน์สตูดิโอในฮิโรชิมามีการติดตั้งอุปกรณ์เทคโนโลยีภาพและการสร้างสรรค์ภาพ รวมถึงจอแสดงผลดิจิตอลขนาดใหญ่สำหรับการสร้างงานดีไซน์โดยใช้ภาพของรถเท่าของจริง เรียกว่า พาวเวอร์วอล Power Wall สำหรับใช้ในขบวนการการออกแบบแบบดิจิตอลที่ทันสมัย ในทางปฏิบัตินั้นหมายถึงดีไซน์สตูดิโออีก 3แห่ง ก็สามารถใช้เวลาส่วนใหญ่ในการสร้างสรรค์แนวคิดใหม่ในการออกแบบ และการคิดค้นริเริ่มผลงานดีไซน์ใหม่ๆ ในขณะเดียวกันยังสามารถทุ่มเทให้กับการพัฒนาการออกแบบรถรุ่นใหม่เพื่อออกวางจำหน่าย
7-ทีมงานการออกแบบในมาสด้า
Mazda Motor Corporation
มร. อิคุโอะ มาเอดะ ผู้จัดการทั่วไป แผนกการออกแบบมาสด้า
มร. อิคุโอะ มาเอดะ ดำรงตำแหน่ง ผู้จัดการทั่วไป แผนกการออกแบบมาสด้าตั้งแต่เดือนเมษายนปี พ.ศ.2552 มร. มาเอดะ ได้นำทีมงานนักออกแบบมาสด้าทั่วโลกและรับผิดชอบในผลงานการออกแบบของรถมาสด้าทุกรุ่นที่จำหน่ายทั่วโลก รวมถึงรถต้นแบบมาสด้ารถรุ่นพิเศษ เขาบริหารงานของดีไซน์สตูดิโอทั้ง 4 แห่ง จากสำนักงานใหญ่เมืองฮิโรชิมา
สำหรับบุคคลคนๆ หนึ่ง ผู้ช่ำชองกับเวลา 28 ปี ในมาสด้า มร. มาเอดะ มีประสบการณ์ด้านการออกแบบจากทั่วทุกมุมโลก เขาเริ่มทำงานกับมาสด้าในแผนกวางแผนผลิตภัณฑ์ในเดือนเมษายนปี พ.ศ. 2525 หลังจากจบการศึกษาการออกแบบอุตสาหกรรมจากมหาวิทยาลัยเกียวโตเทคนิคอลแอนด์เท็กไซล์ ในปี พ.ศ. 2528 มร.มาเอดะ รับผิดชอบงานการออกแบบชั้นสูง ที่มาสด้าดีไซน์สตูดิโอในโยโกฮามา หลังจากนั้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 เขาได้รับมอบหมายให้ทำงานที่มาสด้านอเมริกาเหนือเป็นเวลา 3 ปี เข้ารับตำแหน่งที่สำคัญในทีมการออกแบบ ก่อนที่มีการเปิดฟอร์ดดีไซน์สตูดิโอในเมืองดีทรอยด์ รัฐมิชิแกน ในปี พ.ศ.2542 ก่อนที่จะเข้ารับตำแหน่งผู้จัดการทั่วไป มาเอดะ ใช้เวลาร่วม 10 ปี เป็นผู้นำดีไซน์สตูดิโอและกำหนดกลยุทธ์การออกแบบที่สำนักงานใหญ่ในเมืองฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น ที่ซึ่งเขาดูแลรับผิดชอบงานออกแบบการผลิต ในช่วงเวลานั้นเขามีตำแหน่งเป็นหัวหน้านักออกแบบรถมาสด้า RX-8 และมาสด้า2 หรือ เดมิโอ ในประเทศญี่ปุ่นที่ประสบความสำเร็จและการยอมรับจากทั่วโลก
มร. อิคุโอะ มาเอดะ ใช้ชีวิตอยู่ในเมืองฮิโรชิมา เขาให้ความสนใจกับกีฬาที่เกี่ยวกับการปีนเขาและกีฬาที่ใช้ความเร็ว ซึ่งเขาได้ลงแข่งขันในรายการทัวร์ริ่งคาร์
8 – ประวัติศาสตร์กับ 52 ปีของการออกแบบรถมาสด้า
รถมาสด้าที่ผลิตออกสู่จำหน่ายสู่ตลาด
มาสด้า R360 Coupe (พ.ศ.2503)
รถมาสด้า R360 Coupe เป็นรถยนต์นั่งรุ่นแรกของมาสด้า ด้วยห้องโดยสารสไตล์ 2+2 ที่รวมเอาความมีสไตล์และการตอบสนองการใช้งานเข้าไว้ด้วยกัน มันเป็นการแสดงออกถึงยุคของการเปลี่ยนแปลงในการออกแบบของรถญี่ปุ่น เป็นรถที่ผสมผสานการออกแบบที่โดดเด่นและในราคาที่สามารถเป็นเจ้าของได้ ในเวลานั้นเป็นยุคที่การซื้อรถยนต์มาครอบครองยังเป็นความฝันของหลายๆ คนอยู่ หลังจากเปิดตัวออกสู่ตลาดได้รับการตอบรับที่ดีเยี่ยม
มาสด้า ลูเซ่ 1500 (Luce 1500) (พ.ศ.2509)
บนพื้นฐานของการออกแบบรถ Bertone จากประเทศอิตาลี กับการออกแบบด้วย A-line ของมาสด้า ลูเซ่ 1500 นักออกแบบมาสด้าออกแบบด้วยการขึ้นรูปด้วยโครงสร้างถึงเสาหลักทั้งสาม คือ เสาด้านหน้า ตรงกลาง และด้านหลัง เป็นการสร้างสรรค์งานดีไซน์ตามเอกลักษณ์ของมาสด้า
มาสด้า คอสโม สปอร์ต 110S (Cosmo Sport 110S) (พ.ศ.2510)
คอสโม สปอร์ต เป็นรถสปอร์ตที่ผลิตเพื่อการพาณิชย์ด้วยเครื่องยนต์โรตารี่ โดยใช้ 2 โรเตอร์ เป็นครั้งแรกของโลก เปิดตัวในงานโตเกียวมอเตอร์โชว์ เดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2506 และเริ่มทำการผลิตในปี พ.ศ. 2510 ภายหลังจากการผ่านการทดสอบที่ยิ่งยวด ประธานบริษัทมาสด้าในขณะนั้นคือ มร. ซึเนจิ มัตสุดะ ประทับใจและตื่นเต้นอย่างมากเมื่อเขาขับรถต้นแบบนี้เข้าสู่งานมอเตอร์โชว์ เนื่องจากมีผู้คนมาห้อมล้อมให้ความสนใจเป็นอย่างมาก รถมาสด้า คอสโม สปอร์ต เป็นการออกแบบที่งดงาม การเลือกใช้รูปทรงที่มีสัดส่วนลงตัวสอดผสานกัน เป็นรถที่ให้สมรรถนะการขับขี่ที่ดีเยี่ยม เปรียบเสมือนกับคำพูดที่ว่า เป็นการขับขี่ที่คล้ายกับความรู้สึกเหมือนกำลังบินทะยานออกไป
มาสด้า ลูเซ่ โรตารี่ คูเป้ (Luce Rotary Coupe) (พ.ศ.2512)
มาสด้า ลูเซ่ โรตารี่ คูเป้ ออกแบบด้วยหลังคาแข็งกับตัวถัง 2 ประตู แบบคูเป้ กับเครื่องยนต์โรตารี่พิเศษ 2 โรเตอร์ขนาดละ 655 ซีซี ให้กำลังสูงถึง 126 hp ความเร็วสูงสุดที่ 190 กม/ชม เป็นครั้งแรกที่รถขับเคลื่อนล้อหน้าพัฒนาใช้กับเครื่องยนต์โรตารี่ เพื่อนำเอาข้อได้เปรียบของเครื่องยนต์โรตารี่ที่มีขนาดกะทัดรัด มาเพื่อสมรรถนะให้ดียิ่งขึ้น
มาสด้า RX-7 (พ.ศ.2521)
ด้วยการออกแบบให้ระนาบตัวรถอยู่ในระดับที่ต่ำ ประกอบกับ การขึ้นรูปทรงด้านหน้าสำหรับการวางตำแหน่งของเครื่องยนต์ตรงกลาง หรือ front midship position ทำให้เกิดตัวถังที่ลาดลงต่ำช่วยให้คุณสมบัติหลักอากาศพลศาสตร์ที่ยอดเยี่ยม และกระจกด้านท้าย การเปิดตัวของรถมาสด้า ซาวาน่า RX-7 ได้รับการยกย่องอย่างแพร่หลายทั่วโลก และประสบความสำเร็จกับการแข่งขันในมอเตอร์สปอร์ตมากมาย ได้รับรางวัลชนะเลิศ 100 รายการ กับการแข่งขัน IMSA ในสหรัฐอเมริกา โดยมีคู่แข่งสำคัญ คือ รถปอร์เช่ 911 รถนิสสันแฟร์เลดี้ 240Z เป็นการสร้างความสำเร็จเป็นประวัติการณ์
มาสด้า คอสโม (929) คูเป้ (พ.ศ.2524)
รถคอสโม เจนเนอเรชั่นที่2 ได้เปิดตัวในปี พ.ศ.2524 ที่พัฒนากับเครื่องยนต์โรตารี่เทอร์โบชาร์ต ครั้งแรกของโลก เป็นการออกแบบที่ให้ลักษณะแอร์โรไดนามิกสูงสุด ประกอบด้วยไฟหน้า 4 ดวงแบบพับเก็บได้ ฝากระโปรงที่ลาดในแนวต่ำและกระจังหน้าบางโฉบเฉี่ยว สัมประสิทธิ์แรงเสียดทานของรถ (CD) ที่ 0.32 ดีที่สุดในขณะนั้น
มาสด้า MX-5 (พ.ศ.2532)
เริ่มของสู่จำหน่ายในอเมริกาในฤดูใบไม้ผลิ ปี พ.ศ.2532 สามารถทำยอดขายได้เกินเป้าหมายที่วางเอาไว้ และกลายเป็นเรื่องที่ทุกบริษัทรถยนต์ทั่วโลกให้ความสนใจกับรถสปอร์ตเปิดประทุน รถสปอร์ตน้ำหนักเบาเงียบหายจากตลาดไปตั้งแต่ปี พ.ศ.2513 มาสด้า MX-5 เป็นรถรุ่นที่ครองตลาดเซ็กเม้นต์นี้ได้กระตุ้นการกลับมาของรถกลุ่มนี้ในช่วงปลายศตวรรษที่ 20
มาสด้า แครอล Carol (พ.ศ.2532)
มาสด้า แครอล เป็นรถขนาดเล็ก ที่มีรูปลักษณะที่โดดเด่นดูน่าชื่นชม การออกแบบดั้งเดิมเกิดขึ้นในปี พ.ศ.2505 และรูปแบบที่หลากหลายรวมถึง รุ่นที่มีเทอร์โบและหลังคาผ้า ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง
มาสด้า RX-7 (พ.ศ.2534)
มาสด้า RX-7 (FD) เจนเนอเรชั่นที่3 ออกแบบด้วยรูปทรงที่เหนือขึ้นไปอีกขั้นกับลักษณะและคุณสมบัติด้านอากาศพลศาสตร์ และการใช้หลักของ Gram Strategy หรือกลยุทธ์การลดน้ำหนักส่วนเกินที่ไม่จำเป็น เน้นการออกแบบที่โดดเด่นดึงดูดทุกสายตาภายใต้คอนเซ็ปต์ Beauty and the Beast มาสด้า RX-7 เจนเนอเรชั่นที่1 และ2 นั้นได้รับการยอมรับให้เป็นรถสปอร์ตสมรรถนะสูงในราคาที่เป็นเจ้าของได้
มาสด้า ซีดอส6 (Xedos6) (พ.ศ.2535)
มาสด้า ซีดอส6 ถูกพัฒนาด้วยแนวคิดของคุณค่าที่ไม่มีวันสิ้นสุด Lasting Value เน้นการออกแบบด้วยคุณภาพชั้นสูง และความประณีต พิถีพิถัน จากบทความในนิตยสาร ออโต้มอเตอร์แอนด์สปอร์ต ในเยอรมัน เมื่อปี พ.ศ.2536 ได้ยกย่องให้มาสด้า ซีดอส6 เป็นรถอันดับหนึ่ง สำหรับ ‘Best Cars in the world in 1993’ หรือรถที่ดีที่สุดของโลกในปี พ.ศ.2536 ในกลุ่มของรถยนต์นำเข้าขนาดกลาง
มาสด้า 323F (พ.ศ.2535)
มาสด้า 323F ด้วยรูปทรงที่เหมือนกับนักวิ่งในขณะประจำที่จากจุดปล่อยตัว ลักษณะของการก้มตัวลงไปเตรียมออกสตาร์ทจากจุดเริ่มต้น ใช้เครื่องยนต์ 6 สูบขนาด 2.0 ลิตร เป็นรถสปอร์ตที่ให้การทรงตัวที่ดี การออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์และอุปกรณ์ด้านความปลอดภัย เป็นการสร้างชื่อเสียงให้กับรถมาสด้า 4 ประตู แบบคูเป้
มาสด้า6 (พ.ศ.2545)
มาสด้า6 เป็นรถที่เริ่มต้นกับความสำเร็จของ ซูม-ซูม เจนเนอเรชั่น เรื่องราวที่เป็นเอกลักษณะของมาสด้า ความทันสมัย สปอร์ต และความคล่องแคล่ว เป็นรถที่เป็นตัวแทนของภาพลักษณะการออกแบบใหม่ของมาสด้าในขณะนั้น มีทั้งสิ้น 3 รูปแบบตัวถัง ไฟหน้าและไฟท้ายที่ดุดัน เส้นสายที่ดูทะมัดทะแมง ภายในห้องโดยสารแบบสปอร์ตที่ชื่นชอบจากผู้คนทั่วทุกมุมโลก
มาสด้า RX-8 (พ.ศ.2546)
ในการเปิดตัวเมื่อปี พ.ศ.2546 รถมาสด้า RX-8 เป็นสัญลักษณ์ของการปฏิวัติครั้งใหญ่ของรถสปอร์ตเครื่องยนต์โรตารี่ ที่มาสด้าเป็นบริษัทเดียวในโลกที่ทำการพัฒนา นี่คือการออกแบบที่ดูสปอร์ต มีพลังปราดเปรียว เป็นรถสปอร์ต 4 ประตูที่ไม่มีเสาตรงกลางระหว่างประตูหน้าและหลัง มีความปราดเปรียวมากขึ้น กะทัดรัดขึ้น การพัฒนาด้วยเครื่องยนต์โรตารี่ เรเนซิส ตอบสนองผู้คนที่ชื่นชอบรถสปอร์ตทั่วโลก
มาสด้า3 (พ.ศ.2546)
เป็นรถรุ่นที่2 ของ ซูม-ซูม เจนเนอเรชั่น มาสด้า3 เป็นรุ่นที่สืบทอดความสำเร็จของรุ่นที่แล้วกับมาสด้า 323 เป็นการออกแบบรถคอมแพ็คที่โดดเด่นแตกต่างด้วยความโฉบเฉี่ยว และแข็งแรง ดูคล่องแคล่ว ในสองรูปแบบของตัวถัง ทั้งในรุ่น แฮชต์แบค 5 ประตู และซีดาน 4 ประตู ห้องโดยสารออกแบบอย่างสมบูรณ์แบบด้วยอารมณ์สปอร์ต 3 ปีหลังจากนั้น รถมาสด้า3 MPS สมรรถนะสูง เป็นรถที่เร็วที่สุดที่เคยมีมาของมาสด้า ทำความเร็วสูงสุดได้ 250 กม/ชม
มาสด้า CX-7 (พ.ศ.2549)
มาสด้า CX-7 เป็นรถครอสโอเวอร์ที่ให้กำลังสูงถึง 260 PS ดีไซน์สปอร์ต พร้อมฟังก์ชั่นใช้งานแบบรถ SUV และความสะดวกสบายในการใช้งาน เราพัฒนาจากรถต้นแบบ MX-Crossport ที่แสดงในงานดีทรอยด์มอเตอร์โชว์ในปี พ.ศ.2548 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการออกแบบมาสด้า CX-7 โดดเด่นด้วยกระจกหน้าที่ลาดเอียงดุดันเป็นมุม 66 องศา เหนือกว่ารถสปอร์ตหลายรุ่น ผสมผสานกับการออกแบบหลังที่เอียงลาดลง แนวขอบกระจกด้านล่างที่ไล่สูงขึ้น โป่งล้อที่ใหญ่ดูมีพลังได้สัดส่วนกับล้ออัลลอยด์ขนาด 18” ทำให้รถดูดุดันแข็งแกร่ง
มาสด้า2 (พ.ศ. 2550)
ในปีพ.ศ. 2550 รถมาสด้า 2 เป็นรุ่นที่ใช้การออกแบบรถยนต์ที่มีน้ำหนักเบา ปฏิวัติการสร้างยานยนต์ขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมากขึ้นตามลำดับ มาสด้า2 สามารถลดน้ำหนักลงได้ 100 กก. เมื่อเทียบกับเจนเนอเรชั่นที่แล้ว ช่วยลดอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันและการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ให้สมรรถนะการขับขี่ที่ดียิ่งขึ้น การควบคุมได้อย่างแม่นยำ คล่องแคล่ว ปราดเปรียว เป็นการออกแบบที่เน้นคุณภาพทุกองค์ประกอบและได้รับรางวัลรถยนต์ยอดเยี่ยมของโลก หรือ World Car of the Year’ Award ปีพ.ศ.2551
มาสด้า5 (พ.ศ. 2553)
มาสด้า5 ใหม่พลิกโฉม รูปลักษณ์การออกแบบจากรุ่นที่แล้ว ภายนอกออกแบบอย่างโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ต่างจาก รถ C-MAV ทั่วไปที่มีลักษณะเป็นกล่อง ผสมผสานกับเส้นสายองค์ประกอบของ นากาเร่ เป็นครั้งแรกของรถที่ผลิตออกจำหน่ายที่ใช้การออกแบบของ นากาเร่ อีกทั้งยังให้ประโยชน์ใช้สอย เป็นจุดเด่นกับประตูสไลด์ด้านข้างทั้งสองด้าน ที่เปิดออกได้กว้าง ให้พื้นที่ช่วงขากว้างขวาง สำหรับผู้โดยสาร 7 ที่นั่ง และความสามารถในการปรับรูปแบบของที่นั่งให้เหมาะสมและตอบสนองการใช้งานหลากหลายรูปแบบ หรือเรียกว่า คาราคูริ Karakuri เลือกใช้เครื่องยนต์ 2.0 DISI พร้อมกับระบบ i-stop เอกสิทธิเฉพาะของมาสด้า
รถต้นแบบ
RX-500 (พ.ศ.2513)
RX-500 เป็นรถต้นแบบคันแรกของมาสด้า ที่ใช้เครื่องโรตารี่ การเลือกใช้ชื่อให้เป็นการระลึกถึง การครบรอบ 50 ปีของการก่อตั้งมาสด้า รถคอนเซ็ปต์นี้ได้จัดแสดงในงานโตเกียวมอเตอร์โชว์ปี พ.ศ.2513 สามารถทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 200 กม/ชม ประตูที่ออกแบบให้เปิดออกเหมือนปีกผีเสื้อ ช่วยให้การ เข้า-ออก ห้องโดยสารทำได้อย่างสะดวกง่ายดาย ไฟท้ายใช้สีมากถึง 3 สี คือสีเขียว เหลืองและแดง เป็นการออกแบบใหม่เพื่อดึงดูดสายตาให้สนใจ
RX-01 (พ.ศ.2538)
รถต้นแบบ RX-01 แสดงในงานโตเกียวมอเตอร์โชว์ปี พ.ศ.2538 ใช้เครื่องยนต์โรตารี่ การออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์ ด้วยสัดส่วนที่กระชับและมีระยะความกว้าง ให้เกิดคุณลักษณะของ MSP-RE (Multi-side port rotary) รถออกแบบให้ใช้อ่างน้ำมันหล่อลื่นชนิดแห้ง และการออกแบบด้วยรูปทรงที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ในลักษณะยื่นออกมาด้านหน้าและลาดเอียง ซึ่งได้รับความชื่นชมอย่างมากมาย
RX-EVOLVE (พ.ศ.2542)
มันเป็นรถต้นแบบของมาสด้า RX-8 ที่เผยโฉมในงานโตเกียวมอเตอร์โชว์ ปี พ.ศ.2542 ใช้เครื่องยนต์โรตารี่ เรเนซิส ใหม่ล่าสุด พร้อมกับครั้งแรกกับการออกแบบรถสปอร์ตสี่ที่นั่ง ในเวลานั้นถือเป็นรถสปอร์ตที่ลงตัวทั้งการใช้งานและดีไซน์ สำหรับรถที่ผลิตเพื่อจำหน่าย มร. อิคุโอะ มาเอดะ หัวหน้านักออกแบบมาสด้า RX-8 ได้เพิ่มความพิถีพิถันในงานดีไซน์เพื่อให้อารมณ์ที่เหนือกว่าอีกระดับ
MX-Sport Tourer (พ.ศ.2542)
เปิดตัวในงานเจนนิวามอเตอร์โชว์ ปี พ.ศ.2542 รถต้นแบบมาสด้า MX-Sport Tourer ที่ออกแบบด้วยประตูที่เปิดออกได้ 2 ด้าน หลังคาแบบ vario-lamella ที่เลื่อนเปิดได้แบบ accordion-style รถต้นแบบที่ผสมผสานความสะดวกสบายของพื้นที่ใช้สอยตามแบบของ Wagon และการออกแบบที่ปราดเปรียวอย่างรถสปอร์ต ภายในออกแบบให้เก้าอี้ห้องโดยสารด้านหลังสามารถพับเก็บได้ด้วยเพียงการกดปุ่มสวิทช์ควบคุมด้วยระบบแม่เหล็กไฟฟ้าสามารถพับเบาะลงในแนวระนาบเพื่อพื้นที่บรรทุกสัมภาระ แนวคิดการออกแบบเริ่มต้นมาจากการออกแบบการปรับรูปแบบที่นั่งแบบคาระคูริ Karakuri seat ที่ใช้ในมาสด้า6 และมาสด้า5
นากาเร่ Nagare (พ.ศ.2549)
รถต้นแบบนากาเร่สร้างชื่อกับแนวคิดของรถต้นแบบที่ได้แรงบันดาลใจมาจากความสวยงามของธรรมชาติ ในเวลานั้น นักออกแบบมาสด้าเริ่มต้นคิดค้นการสื่อสารด้วยภาษาการออกแบบใหม่และการกำหนดสัดส่วนของรถให้เป็นปรากฏการณ์ของการออกแบบด้วยแนวคิดของความพลิ้วไหวที่สวยงามในธรรมชาติ ความประทับใจมากที่สุดคือประตูที่เปิดออกอย่างปีกผีเสื้อ เปิดออกไปด้านหน้าและด้านบนเพื่อให้เกิดความสะดวกในการ เข้า-ออก ห้องโดยสาร ที่นั่งทั้งสี่ ด้วยการออกแบบให้ตำแหน่งที่นั่งผู้ขับขี่เป็นศูนย์กลาง และพื้นที่ผู้โดยสารด้านหลังที่โอบรอบสะดวกอย่างลงตัว นากาเร่ออกแบบด้วยความผสมผสานสมรรถนะการขับขี่ที่ดีและประโยชน์ใช้สอบภายในที่ครบครัน รวมทุกอย่างไว้ในนวัตกรรมการออกแบบนี้
ไทกิ Taiki (พ.ศ.2550)
เป็นการผสมผสานที่ลงตัวที่สุดของแนวคิดการพัฒนารถต้นแบบภายใต้นากาเร่ รถต้นแบบมาสด้า ไทกิ คือต้นแบบของรถสปอร์ตที่ออกแบบให้เหมาะกับทุกคนในสังคม ริเริ่มการลดน้ำหนัก และเทคโนโลยีด้านอากาศพลศาสตร์ จึงช่วยลดอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันและการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มันเป็นการสร้างแรงบันดาลใจจากสรรพสิ่งในโลก ครั้งแรกกับการออกแบบรถคูเป้ที่ขยายพื้นที่มากขึ้น ด้วยการวางเครื่องไว้ด้านหน้าของรถขับหลัง ระยะจากฐานล้อถึงขอบตัวถังด้านนอกที่สั้นและหลังคากระจก ถูกเลือกสรรมาใช้ในการออกแบบที่แสดงออกถึงความพลิ้วไหวที่สวยงามของอากาศบริสุทธิ์ ที่ดูสวยงามและแฝงด้วยความลึกล้ำน่าค้นหา พื้นผิวและโป่งล้อที่สอดคล้องกับปีกประตูอย่างลงตัว
ฟูไร Furai (พ.ศ.2551)
รถต้นแบบมาสด้า Furai ในภาษาญี่ปุ่นแปลว่า เสียงของกระแสลม เริ่มเปิดตัวในปี พ.ศ.2551 งานนอร์ทอเมริกามอเตอร์โชว์ มันถูกสร้างสรรค์และพัฒนาจากมาสด้าสตูดิโอในเมืองเออร์วิน รัฐแคลิฟอร์เนีย เพื่อลดข้อจำกัดของรถที่ใช้ประจำวันและรถสปอร์ตในช่วงสุดสัปดาห์ เป็นการสร้างรถสปอร์ตที่สามารถตอบสนองการใช้งานในชีวิตประจำวัน สำหรับการออกแบบรถต้นแบบฟูไร การใช้เส้นสายของนากาเร่ ช่วยให้สมรรถนะด้านอากาศพลศาสตร์ดียิ่งขึ้น โดยการรีดและไล่อากาศผ่านเส้นสายบนพื้นผิวนั้น เครื่องยนต์โรตารี่ 3 โรเตอร์ สามารถใช้น้ำมันเอทานอล 100% ให้กำลังสูงสุด 450 HP ที่ 9,000 รอบ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น